เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจพบกับความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง เนื่องจากระบบในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ โดยอาจพบกับความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
ผลข้างเคียงในระยะสั้น
-
มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากร่างกายของทารกยังพัฒนาระบบทางเดินหายใจได้ไม่เต็มที่
-
มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ความดันโลหิตต่ำ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
-
มีความเสี่ยงต่อสมอง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความเสี่ยงที่จะพบกับภาวะเลือดออกในสมอง
-
ต้องควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย หลังคลอดทันทีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีอุณหภูมิในร่างกายต่ำ หรือตัวเย็น จำเป็นต้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิร่างกายอย่างใกล้ชิด
-
ทารกเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากส่วนมากแล้วระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ทารกมักจะได้รับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด จึงอาจจะมีระบบภูมิคุ้มกันไม่มากพอที่จะต้านทานกับสิ่งแปลกปลอม
-
ตัวเหลือง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีอาการตัวเหลืองนานกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด
ผลข้างเคียงในระยะยาว
-
พัฒนาการด้านการเรียนรู้บกพร่อง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะมีภาวะการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด
-
โรคไหลตาย ซึ่งปกติโรคนี้ก็เกิดขึ้นบ่อยในเด็กทารกอยู่แล้ว ยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไหลตาย
-
สุขภาพฟันมีปัญหา เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาฟันขึ้นช้า หรือฟันขึ้นผิดรูปได้
-
ปัญหาด้านการมองเห็น การคลอดก่อนกำหนดทำให้เด็กมีการพัฒนาจอประสาทตาก่อนกำหนดตามไปด้วย หรือที่เรียกว่า โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เกิดเส้นเลือดหรือเยื่อพังผืดขึ้นที่บริเวณจอประสาทตา ทำให้จอตาผิดปกติ อาจนำไปสู่การตาบอดหรือการมองเห็นบกพร่องได้
-
ปัญหาด้านการได้ยิน เด็กที่คลอดออกมาก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสูงที่จะพบกับความบกพร่องทางการได้ยิน
-
ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ปอดของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้หายใจลำบาก หรืออาจนำไปสู่โรคหอบหืดได้
เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันแต่ว่าคลอดตามกำหนด เนื่องจากสมองของทารกจะเติบโตได้เต็มที่ในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ทำให้สมองของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ช้าก็อาจจะมีทั้งช้ามาก ช้าน้อย หรือไม่มีความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้เลยก็ได้ แม่ควรหมั่นพาทารกไปตรวจเช็กร่างกายกับแพทย์อยู่เสมอ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หรือแนวทางในการดูแลลูกที่คลอดก่อนกำหนดเป็นพิเศษ
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด แต่คลอดในระหว่างสัปดาห์ที่ 36-37 จะไม่ถือว่ามีความเสี่ยงมากนัก หรือแทบไม่มีความเสี่ยงเลย
แต่...ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 36 หรือคลอดก่อนกำหนดชนิดที่เร็วมาก ๆ อย่างการคลอดก่อนกำหนด 7 เดือน ซึ่งมีอายุครรภ์ได้เพียง 27-30 สัปดาห์ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกสูงมาก
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ กุมารแพทย์ สูติ-นรีแพทย์อย่างเคร่งครัด และใกล้ชิด
เพราะทารกที่เกิดกำหนดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงหลายประการ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดและถูกต้อง เพื่อให้ทารกสามารถเติบโตและแข็งแรงต่อไป
โดยสามารถดูแลลูกที่คลอดก่อนกำหนดได้ ดังนี้
-
ให้ทารกได้กินนมแม่ เพราะเป็นสารอาหารสำคัญที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรงมากขึ้น
-
หมั่นสังเกตอุณหภูมิของทารกอยู่เสมอ เนื่องจากเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีอุณหภูมิร่างกายไม่ปกติ หากตัวเย็นเกินไป หรือตัวร้อนเกินไป ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
-
หลีกเลี่ยงการนำทารกไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน แออัด และมีมลพิษสูง เพราะเสี่ยงต่อมลภาวะที่อาจทำให้เด็กป่วยง่าย
-
ดูแลที่นอนของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ จัดห้องนอนที่มีอุณหภูมิเหมาะสม แสง และปราศจากเสียงรบกวน
-
ไม่ควรให้ใครต่อใครอุ้มลูกบ่อย ๆ เพราะเด็กเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ได้ง่าย
-
ล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะสัมผัสกับลูกเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับเชื้อโรคที่ติดมากับมือของพ่อแม่และคนอื่น ๆ
-
ทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวและคนรอบข้างถึงข้อจำกัดในการพบปะกับเจ้าตัวเล็ก ให้ทุกคนเข้าใจว่าลูกมีความเสี่ยง ไม่สามารถอุ้มเล่น หรือสัมผัสโดยตรงได้เหมือนกับเด็กทั่วไป เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามเหมือนกันด้วยความเข้าใจ
-
พาทารกไปตรวจเช็กสุขภาพอยู่เสมอ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจะได้สามารถรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ
|