องค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์: www.thaduang.go.th

 
 
ประวัติและความเป็นมา

ประวิติความเป็นมา :

แต่เดิมสันนิษฐานว่าตำบลท่าด้วงเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบน  (ชาวบน เรียกตนเองว่า "เนียะกุล" หรือ "ญัฮกุล" มีความหมายว่าคนภูเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเตี้ยๆ แถบบริเวณชาวบน มีผิวค่อนข้างดำตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนักรูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดีการแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวบน คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ชาวบนเรียกกะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดาภาษาของชาวบนจัดอยู่ในตระกูลภาษาตระกูลมอญ-เขมร สาขามอญ เพราะมีความใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณ และภาษามอญปัจจุบันมากกว่าเขมร  อีกประการหนึ่งภาษาของชาวบนไม่มีระบบการเขียน  อาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ฤดูแล้งจะใช้น้ำซับซึ่งมีตลอดปี ชาวบนมีอาชีพทำไร่ปลูกข้าวตามไหล่เขา ใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอดที่เรียกข้าวไร่ตอนเก็บเกี่ยวก็ใช้มือรูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่กระบุงแทนการเกี่ยวข้าว นอกจากข้าวแล้วยังปลูกข้าวโพด กล้วย ละหุ่ง มันสำปะหลัง มะเขือ พริก เป็นต้น มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และหาของป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผึ้ง กบ เขียด และมีความสามารถในการจักสานโดยเฉพาะสานเสื่อปัจจุบันชาวบนนับถือศาสนาพุทธ เชื่อในเรื่องภูติผีวิญญาณ ชาวบนนิยมแต่งงานในหมู่พวกเดียวกัน การละเล่นมีการเป่าใบไม้ซึ่งบางครั้งจะเป่าเป็นสัญญาณเรียกหากัน มีการเล่นเพลงพื้นบ้านเรียกว่า กระแจ๊ะ หรือ ปะเรเร เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตีโทนให้จังหวะ เนื้อหาเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว)    ิึงปักหลักลงมือพา พ.ศ. 254ต่อมานายด้วง...เป็นชื่อของคนคนหนึ่งที่มีคุณประโยชน์ได้มองเห็นความอุดมสมบูรณ์และมองเห็นทำเลที่เหมาะจะสร้างบ้านเมืองที่นี่  คิดแล้วนายด้วง  จึงปักหลักลงมือพาเพื่อนสหาย  สร้างบ้านเมืองขึ้นในกลางใจป่าลึก  ทางทิศตะวันออกของ  บ้านหนองไผ่  ปัจจุบันนี้คืออำเภอหนองไผ่     เส้นทางที่นายด้วงใช้เดินทางเข้ามาในจุดกลางใจป่าดงดิบ  เดินทางเข้ามาทางทิศเหนือ  ปัจจุบันคือทางจังหวัดเพชรบูรณ์  ผ่านบ้านทุ่งสามนาง  ทุ่งงิ้ว  ผ่านเข้ามาโผล่เขตห้วยตลาด  ทีแรกคิดว่าจะสร้างหมู่บ้านตรงจุดบ้านห้วยสำราญปัจจุบันนี้  แต่ทานมองเห็นว่าทำเลไม่เหมาะสมจึงสำรวจหาพื้นที่เหมาะสมจะตั้งหรือสร้างหมู่บ้านจึงได้พื้นที่ลาบกว้างใหญ่หรือมองเห็นเป็นลักษณะเป็นทุ่งใหญ่เหมาะที่จะประกอบอาชีพในการเป็นอยู่ของคนส่วนมาก  ต่อมาพอนายด้วงอายุมากสมควรแก่การแล้วจึง  สิ้นชีวิตในหมู่บ้านที่ตนได้พาชาวบ้านและเพื่อนสหายได้สร้างขึ้น  ทีแรกหมู่บ้านท่าด้วงนี้จะตั้งชื้อหมู่บ้านว่า  บ้านทุ้งใหญ่  มียายแก่คนหนึ่งมีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับชื่อของหัวหน้าหมู่บ้าน  ยายแก่คนนั้นบอกว่า  เรียกบ้านทุ่งใหญ่นั้นไม่ดี เรียกว่าบ้าน  ตาด้วง  ดีกว่า  เรียกง่ายดีต่อมายายแก่นั้นได้เสียชีวิตลง  ชื่อบ้านตาด้วงก็เพี้ยนมาเป็น  บ้านไอ้ด้วง  ต่อมาจึงได้เปลี่ยนตามคำพูดที่ได้พิจารณาจากทางราชการว่า  บ้านไอ้ด้วง  นั้นฟังไม่ไพเราะให้เปลี่ยนเสียใหม่ว่า  บ้านท่าด้วง เมื่อเวลาผ่านไปประชาชนในพื้นที่จึงขยายหมู่บ้านไปอีกหลายหมู่บ้านและเป็น ตำบลท่าด้วง เมื่อวันที่ - เดือน มีนาคม พ.ศ. 2536

 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง  อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่   ๒๐   เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๐  มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย