คำแถลงนโยบาย
ของ นายอดุลย์ ปริญญาศรีเศวต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง
ข้าพเจ้า นายอดุลย์ ปริญญาศรีเศวต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง ขอแถลงนโยบาย แผนงานโครงการพัฒนาที่จะใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง แก้ปัญหาให้ประชาชนให้ทุกท่านได้ทราบ ถึงหลักการและแนวนโยบาย ดังต่อไปนี้
1.นโยบายด้านพัฒนาคนส่งเสริมคุณภาพชีวิต
หลักการ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 พ.ศ. 2550-2555 คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างระบบบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มี คน เป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง
การพัฒนาคน จึงเป็นบทเริ่มต้นจากฐานราก เป็นการส่งเสริมคนให้คนมีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี มีระเบียบวินัย รู้หน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต คิดเป็น ทำเป็น มีสุขภาพแข็งแรง มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิดอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานให้เกิดความสมดุลในการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนโดยสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมีคุณภาพให้เป็นภูมิคุ้มกัน โดยอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดูแลซึ่งกันและกัน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต โดยยึดสายกลางตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจแบบพอเพียง เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น เพื่อเป็นรากฐานที่ดีของสังคม ปลูกจิตสำนึกให้มีความรักชาติและความเป็นไทยอย่างจริงจัง สนับสนุนบทบาทของกลุ่มต่างๆ ทางสังคม ในการทำนุบำรุงและพัฒนาชุมชน พัฒนาพื้นที่ รวมไปถึงพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมสืบสานงานประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมทุกระดับ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว อันเป็นสถาบันหลักในสังคมไทย องค์กรทางศาสนา องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน รวมไปถึงประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังปัญญา ศีลธรรมและวัฒนธรรมของคนไทย พัฒนาหลักประกันทางสังคมที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมประชาชนทุกคนและพัฒนาระบบโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและพึ่งตนเองได้ในระยะยาวตลอดจนเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและพัฒนากลไกลที่ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ยั่งยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชนจากฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแบบเอื้ออาทรดูแลซึ่งกันและกันแบบดั่งเดิม ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัว สืบสานวัฒนธรรมงานประเพณีต่างๆ
1.ส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือตนเองและสังคมได้
2.ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันครอบครัว ให้เป็นแบบเอื้ออาทร ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.ส่งเสริมสนับสนุน ปลูกจิตสำนึกในความเป็นไทย ให้มีความรักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์
4.ส่งเสริมสนับสนุนสืบสานงานประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.ส่งเสริมสนับสนุนคนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ให้มีอาชีพที่ยั่งยืนช่วยเหลือตนเองได้ตามสภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่เป็นปัญหาต่อสังคม
6.ส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือสงเคราะห์ เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ให้อยู่ได้ในสังคม
7.ส่งเสริมสนับสนุนให้คนได้คิดเป็น ทำเป็น เสริมสร้างผลิตผล ผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีอาชีพ เพิ่มรายได้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
8.ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้มีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เป้าหมาย
1. เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทำเป็น มีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแก้ไขปัญหา
2. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พัฒนาคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
3. เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน รวมทั้งปลูกจิตสำสึกในการรักชาติและมีความภูมิใจในความเป็นคนไทย
5. สืบสานงานประเพณี ส่งเสริมสถาบันทางครอบครัว
6. ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส สังคมสงเคราะห์ เด็ก คนชรา ผู้พิการ
7. ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ชุมชน จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารให้ความรู้ในแต่ละหมู่บ้าน
8. ฝึกอบรมอาชีพ ดูงานเพิ่มมูลค่าผลิตผล
9. สร้างศูนย์ข้อมูลข่าวสารภายในหมู่บ้าน (ศาลากลางบ้าน)
10. สร้างศูนย์สุขภาพนันทนาการ แหล่งพักผ่อนประจำหมู่บ้าน ตำบล
11. ส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้มีการออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพิ่มขึ้น
2. นโยบายด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค
หลักการ
น้ำ เป็นทรัพยากร ที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีพของทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่า จะเป็นคน สัตว์ พืชพรรณต่างๆ ล้วนดำรงคงอยู่ได้ด้วยน้ำ ปัจจุบันมนุษย์ต้องหันกลับมาจัดการบริหารกับแหล่งน้ำให้น้ำได้มีเพียงพอใช้กับความต้องการทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตร จังหวัดเพชรบูรณ์เองก็ได้มีโครงการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก จัดการน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมป้องกันทรัพยากรน้ำทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
น้ำ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์และสรรพสิ่ง แหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นทั้งน้ำผิวดิน และน้ำจากใต้ดิน ล้วนมีคุณค่าต่อการดำรงชีพ ฉะนั้นจึงต้องมีการจัดหา จัดเตรียม ไว้ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตรเสริมสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนได้มีจิตสำนึกในการรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารรู้จักใช้น้ำอย่างมีคุณค่าใช้น้ำอย่างมีระบบ เสริมสร้างอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นแหล่งอาหาร คืนชีวิตให้ป่า ตามแนวพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ฤดูฝนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ฤดูแล้งให้น้ำได้มีใช้อย่างเพียงพอกับความต้องการไม่เหือดหาย
สถานที่กักเก็บน้ำ คลองห้วยตากผ้า คลองลำสุทธิ ฯลฯ อีกแหล่งหนึ่ง ที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำแหล่งสำคัญของชาวตำบลท่าด้วง และใกล้เคียง ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งอาหารแล้ว ยังมีแผนงานจัดการจัดเตรียมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีการจัดการสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงภูมิทัศน์ที่เหมาะสม ให้เป็นแหล่งธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและเสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนภายในเขตพื้นที่ได้มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ มีการจัดการน้ำอย่างมีระบบ ฤดูฝนฝนตกต้องตามฤดูกาล มีภาชนะกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้อย่างเพียงพอ หน้าแล้งมีน้ำใช้ไม่ขาดแคลน ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่เดือดร้อน
1.ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค เพื่อการเกษตร เพื่อการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
2.ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
3.จัดทำแผนการใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ
4.ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานประสานงานระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่นในลักษณะลุ่มน้ำ ตามแนวทางการบริหารจัดการแหล่งน้ำของจังหวัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
5.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาคุณภาพในแหล่งน้ำ และรู้จักใช้น้ำอย่างมีคุณค่า
6.อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอันเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำลำธาร คืนชีวิตให้ป่า
7.ทำนุบำรุงรักษาสภาพแม่น้ำลำคลองให้คงอยู่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.ปรับปรุงฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองห้วยตากผ้า คลองลำสุทธิ และคลองอื่นๆ ให้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และ แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ เสริมสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
9.จัดหาแหล่งน้ำทั้งใต้ดินและผิวดิน
10.ก่อสร้างระบบประปาให้ประชาชนได้ใช้อย่างเพียงพอ
11.ซ่อมสร้างทำนุบำรุงแหล่งน้ำ ที่กักเก็บน้ำ ให้ใช้ได้อยู่เสมอตลอดไปไม่เดือดร้อน
12.ปลูกจิตสำนึก ใช้น้ำอย่างมีคุณค่า คำนึงถึงประโยชน์ที่ควรใช้
3.นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
หลักการ
การพัฒนาที่สำคัญอีกด้าน นั้นคือโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นงานซ่อม สร้าง ปรับปรุง ทำนุบำรุง เพิ่มเติมเสริมสร้าง รักษา ฯลฯ สภาพพื้นที่ภายในตำบลหนองไผ่ ยังมีความต้องการ มีความจำเป็นในการที่จะพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ค่อนข้างที่จะมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างถนนต่างๆ ทั้งเพื่อการคมนาคมทั่วไป และเพื่อขนส่งผลิตผลด้านการเกษตร ซึ่งบางสายมีสภาพที่ไม่น่าจะเป็นถนนโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีทั้งน้ำท่วมขัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ประชาชนเดือดร้อน ต้องการซ่อมสร้างและท้ายสุด พัฒนาจนกลายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กหรือลาดยาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ในการสัญจรไปมาโดยสะดวก ก่อสร้างอาคาร งานฝาย ถังเก็บน้ำฝน สะพาน งานบล็อค รวมไปถึงแม้กระทั่งระบบประปาหมู่บ้าน และอื่นๆ อีกมาก ล้วนแล้วเป็นงานโครงสร้างพื้นฐาน ที่ยังมีความจำเป็น ยังมีความต้องการ ก่อสร้างเพิ่มเติมนอกเหนือจากงานอื่นๆ ในเบื้องต้น
วัตถุประสงค์
นอกจากการพัฒนาเสริมสร้างคนอันเป็นเบื้องต้นเป็นหัวใจในการพัฒนาแล้ว ต่อมาการอยู่ดีกินของประชาชนภายในพื้นที่ และถนนหนทาง ซ่อมสร้างอื่นๆ ล้วนแล้วทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในการพัฒนาในทุกรูปแบบ ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเป็นคนมีคุณธรรม มีสุขภาพเข้มแข็ง คิดเป็นทำเป็น มีสภาพความเป็นอยู่ที่มั่นคง มีอาชีพทั้งงานหลักและเสริมที่ยั่งยืน ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เดือดร้อน
1.เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.การคมนาคมขนส่งไปมาสะดวก
3.ป้องกันอุทกภัย
4.อื่นๆ ฯลฯ
นอกจากจะดำเนินการพัฒนาตามแนวนโยบายแผนงานโครงการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ข้าพเจ้าจะ
นำหลักธรรมมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าด้วง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ประชาชนมีส่วนร่วม และยังประโยชน์สูงสุดให้เกิดกับประชาชนภายในพื้นที่ ต่อไป |